Learning Materials for Early Childhood สื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันนี้ อาจารย์พูดถึงกิจกรรมการเล่นกีฬา และวันงานเลี้ยงส่งรุ่นพี่ปี5 เเล้วอาจารย์ก็สอนต่อ
-ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่เป็นกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายร่วมกันในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครู-เด็ก เขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเองนับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
อ่าน-เขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือ ผ่านการฟังนิทานเรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาศให้เด็กพูดคุย
-ให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เลือกหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบๆ
-ให้เด็กได้เขียนขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้นด้วยการพูดคุยกัยพ่อ แม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เมื่อการสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน
จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือ และมักจะพยายามหาความหมายไปด้วย จากภาพหรือตัวหนังสือซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการเรียนรู้หนังสือ
*ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก - คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ ( คน,อาหาร,สิ่งที่อยู่รอบตัว)
ขั้นที่สอง - ผู฿เรียนจะผูกพันธ์กับตัวอักษรเพิ่มขึ้นเรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวหนังสือ
ขั้นที่สาม - เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักสอนตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษรจะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย
ขั้นสุดท้าย - ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการเล่น
*การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนอง ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้

บรรยากาศให้การเรียน สนุกสนานดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น