Learning Materials for Early Childhood สื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15


วันนี้อาจารย์เริ่มแจกกระดาษให้เขียนคนละ 1 แผ่นแล้วให้ตอบคำถามตามหัวข้อแล้วส่ง
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
1.เริ่มจากเด็กก่อนไม่ว่าจะมีความพร้อมหรือความสนใจ
2.สอนแบบธรรมชาติ
3.สอนแย่งมีความหมาย
4.สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห็นหรือมีประสบการณ์มาก่อน
5.สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน
6.ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน

ทำกิจกรรม
อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1แผ่น แล้วเปิดเพลงเกาะสมุยให้ฟังแล้วให้เขียนความรู้สึกที่ได้ฟังเพลงนี้ลงกระดาษที่แจก
เมทื่อส่งกระดาษแล้ว อาจารย์ได้ถามความรู้สึกของเพื่อนๆทุกคนในห้องและอาจารย์ก็สรุปให้ฟังอีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบันทึกการเรียนรั้ครั้งที่ 14


วันนี้อาจารย์ได้สอน.......
มีหัวข้อดังต่อไปนี้ค่ะ
- การจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนควรมีลักษณะอย่างไร
- มุมที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร
- มุมบ้าน
- มุมหมอ
- มุมร้านค้า
- มุมจราจร
การสอนภาษา ดังนี้
- เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็นความพร้อมหรือความสนใจ
- สอนแบบเป็นธรรมชาติ
- สอนอย่างมีความหมาย
- สอนจากสิ่งที่เด็กได้พบเห้น หรือมีประสบการณ์มาก่อน
- สอนให้เด็กรู้สึกสนุกและอยากเรียน (ไม่ใช่ฝึกแต่ให้ใช้)
- ให้โอกาสเด็กได้ใช้ภาษา เช่น เด็กอยากพูดก็ควรให้พูด เด็กอยากฟังก็ควรให้ฟัง เด็กอยากอ่านก็ควรให้อ่าน เด็กอยากเขียนก็ควรให้เขียน

บรรยากาศการเรียน วันนี้ง่วงนอนมาก อากาศเย็นสบาย

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13


วันนี้ อาจารย์พูดถึงกิจกรรมการเล่นกีฬา และวันงานเลี้ยงส่งรุ่นพี่ปี5 เเล้วอาจารย์ก็สอนต่อ
-ความรู้ของเด็กจะเพิ่มพูนขึ้นเมื่อเด็กได้รับโอกาสในการทกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอ่านร่วมกับผู้ใหญ่ และกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้อ่านเงียบๆตามลำพัง การอ่านกับเพื่อนเป็นคู่เป็นกลุ่มย่อยเพื่ออภิปรายร่วมกันในการรับฟังและตรวจสอบความคิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการอ่านจากสิ่งที่ครู-เด็ก เขียนร่วมกันหรือสิ่งที่เด็กเขียนขึ้นเองนับได้ว่าเป็นการอ่านที่ดีที่สุดของเด็ก
ลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
อ่าน-เขียน
-เน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องมากกว่าการท่องจำตัวหนังสือ ผ่านการฟังนิทานเรื่องราวสนทนาโต้ตอบคิดวิเคราะห์ร่วมกับครูหรือผู้ใหญ่
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียนและสะกด เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องอ่านหรือหรือสะกดถูกต้องทั้งหมด
-มีหนังสือวัสดุสิ่งพิมพ์ต่างๆให้เด็กเป็นผู้เลือกเพื่อได้รับประสบการทางภาษาอย่างหลากหลาย
-ครูแนะนำและสอนอ่านในกลุ่มที่ไม่ใหญ่มากโดยใช้หนังสือเล่มใหญ่ที่เห็นชัดเจนทั่วกัน
-ให้เด็กแบ่งกลุ่มเล็กๆผลัดกันอ่านด้วยการออกเสียงดังๆ
-ครูสอนการอ่านอย่างมีความหมายด้วยความสนุกสนานในกลุ่มย่อย สอนให้รู้จักวิธีการใช้หนังสืออย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาศให้เด็กพูดคุย
-ให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้เลือกหนังสือที่ชอบและยืมไปนั่งอ่านเงียบๆ
-ให้เด็กได้เขียนขีดเขี่ย วาดภาพ ถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้จากประสบการณ์
ทักษะการสนทนาจะพัฒนามากขึ้นด้วยการพูดคุยกัยพ่อ แม่ เพื่อน ครู ในสถานการณ์หรือเรื่องราวที่มีความสัมพันธ์กับตัวเด็ก เมื่อเด็กได้รับโอกาสในการแสดงออกโดยการพูด เด็กจะได้เรียนรู้จากสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง จากสิ่งที่ผู้ใหญ่อ่านให้ฟัง ซึ่งเด็กนำไปใช้เมื่อการสื่อสารหรือแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาในการดำเนินชีวิตประจำวันซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรู้ความหมายในภาษาเขียน
จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษาคือการที่ผู้ใหญ่อ่านหนังสือให้เด็กฟัง ในขณะที่ครูอ่านไปเด็กจะมองตามตัวหนังสือ และมักจะพยายามหาความหมายไปด้วย จากภาพหรือตัวหนังสือซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพฤติกรรมการเรียนรู้หนังสือ
*ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก - คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก เช่น ชื่อ ( คน,อาหาร,สิ่งที่อยู่รอบตัว)
ขั้นที่สอง - ผู฿เรียนจะผูกพันธ์กับตัวอักษรเพิ่มขึ้นเรียกชื่อได้หรืออ่านได้ถูก และเรียนรู้ที่อยู่(ตำแหน่ง)ของตัวหนังสือ
ขั้นที่สาม - เด็กแยกแยะการใช้ตัวอักสอนตลอดจนระเบียบแบบแผนของตัวอักษรจะเริ่มอ่านหรือเขียนจากซ้ายไปขวาซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการด้านการอ่านในเด็กปฐมวัย
ขั้นสุดท้าย - ระบบของตัวอักษร คือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายของการเล่น
*การจัดสภาพแวดล้อม
จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและกิจกรรมโดยการจัดพื้นที่ภายในห้องเรียนที่สามารถตอบสนอง ความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กที่มีความแตกต่างหลากหลายได้

บรรยากาศให้การเรียน สนุกสนานดีค่ะ

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่องภาษาธรรมชาติเป็นการสอนภาษาโดยองค์รวม
-โคมินิอุส เด็กสามารถค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ได้ด้วยการนำเสนอด้วยสิ่งที่เด็กคุ้นเคยในชิวิตอยู่แล้วเด็กจะเข้าใจสิ่งของที่เป็นรูปธรรมได้โดยการใช้ภาษาถิ่นหรือภาษาในชีวิตประจำวันของเด็ก
-กู๊ดแมน สมิธ เมอร์ริดิช ความรู้จะเกิดขึ้นอย่างพรั่งพรูจากกระบวนการเรียนรู้ และมีการพัฒนาภาษาพูด ภาษาเขียน ซึ่งครูจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่เด็กๆ นั้นอาศัยภาษาเป็นสื่อในการแก้ปัญหา
-จูดิท นิวแมน มีลักษณะเป็นปรัชญา ความคิดของผู้สอนโดยก่อตัวขึึ้นจาก หลักการสอนที่ผู้สอนนำมาบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมผ่านการเล่นซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากกิจกรรมที่ทำร่วมกันและเป็นรายบุคคล
-ฮอลลิเดย์ บริบทที่แวดล้อมในสถานการณ์ที่หลากหลายมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการใช้ภาษาของเด็ก
-กู๊ดแมน ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กต้องเรียนรู้ภาษาและต้องใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับภาษากระบวนการ บรรยากาศการเรียน มีลักษณะของความร่วมมือกันระหว่างครูและเด็กๆ ตั้งแต่การวางแผน คือ คิดด้วยกันว่าจะทำอะไร ทำเมื่อไหร่ ทำอย่างไร จำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไร จะหาสิ่งที่ต้องการมาได้อย่างไร และใครจะช่วยทำงานในส่วนใด

บรรยากาศใน ห้องเรียน เรียบง่าย สบายๆดีค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันนี้อาจารย์กให้พูดคำคล้องจองคำละคำอาจารย์ให้ออกไปทำกิจกรรมหน้าห้องเป็นเเถวที่นั่งเเล้วให้เพื่อนให้ห้องทายว่าเป็อะไร คำคล้องจอง
- ฉันรู้สึก
- ครอบครัวของฉัน
- ฟังและปฏิบัติโดยมีข้อตกลง
- ทำตรงกันข้าม
- กระซิบบอกคำ
- วาดภาพแล้วนำมาเชื่อมโยงเป็นเรื่องราว
- ร้องเพลงให้ทาย
- วาดไปเล่าไป
หลังจากที่ทำกิจกรรมครบแล้วอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษคนละหนึ่งแผ่นให้นักศึกษาทำเป็นแผนผังครอบครัวของฉันให้ทำวงกลมตามจำนวนสมาชิกในครอบครัวของตนเอง

บรรยากาศในห้องเรียนก็สนุกสนานเนื่องจากได้ร่วมทำกิจกรรมน่าสนใจดี

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม 2554 วันนี้เป็นวันที่เรียนชดเชย อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่เเล้ว
7 ขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
1.ระยะเปะปะ อายุตั้งเเต่เเรกเกิด-6 เดือน พบว่าเด็กทารกมีการเปล่งเสียงอย่าไม่มีความหมายการเปล่งเสียงของเด็กเป็นการบ่งบอกให้ผู้ใหญ่รู้ถึงความต้องการของเด็ก
2.ระยะเเยกเเยะ อายุ 6เดือน-1ปี ในระยะนี้เริ่มเเยกเเยะเสียงที่เขาได้ยินในสิ่งเเวดล้อม เด็กจะเปล่งเสียงเหล่านี้ซ้ำๆอีก ในบางครั้งเด็กจะทำเสียงตามเสียงที่พูดคุยกัน
3.ระยะเลียนเเบบ อายุ1-2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งเเวดล้อม โดยเฉพาะเสียงของคนที่ใกล้ชิดเป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจเเละเริ่มเลียนเเบบ
4.ระยะขยาย อายุ2-4 ปี เด็กจะเริ่มหัดพูดโดยการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำๆระยะเเรกจะเป็นการพูดโดยการเรียกชื่อคำนามชื่อของคนรอบข้าง
อายุ 2ปี เริ่มพูดเป็นคำได้ร้อยละ20
อายุ 3ปีเด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
อายุ 4ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่างๆได้กว้างขว้างขึ้น
5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5ปี การรับรู้เเละการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้างเเละทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น จากการฟังนิทาน ดูรายการวิทยุ โทรทัศน์
6.ระยะตอบสนอง อายุ5-6 ปี การพัฒนาภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเข้าเรียน
7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ6 ปีขึ้นไป เด็กจะมีการพัฒนาความสามารถภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวนหรือคำที่มีความหมายลึกซึ้ง

บบรยากาศในการเรียน รู้สึกเพื่อนๆมาน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไรค่ะ

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วันนี้อาจารย์ได้ส่งงานสมุดเล่มเล็กและสิ่งที่ชอบทาน เเละอาจารย์ได้ให้แต่ละกลุ่มก็ได้ออกมานำเสนอปริศนาคำทายหนังสือเล่มใหญ่ของกลุ่มตนเองมานำเสนอเพื่อน แล้ว
ให้นำ bigbook ปริศนาคำทาย เล่ากับเเด็กอนุบาลที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมพร้อมทำสรุปมาส่งนั้นก็ได้กิจกรรมส่งเสริมทักษะของภาษา ดังนี้
1.ประกาศ
2.โฆษณา
3.ประชาสัมพันธ์
4.เล่าเรื่องจากภาพ
5.ของรักของหวง
6.เล่าประสบการณ์

เนื้อหาในการเรียน
-เด็กปกติทุกคนทั่วทุกเเหล่งจะสามารถเรียนรู้ภาษาในสังคมของตัวเองได้ด้วยตนเอง
-เด็กอายุ 3-4 ปี สามารถเรียน ความซับซ้อนของรูปประโยคในภาษาของตนเองได้แล้ว
-เด็กจะเรียนรู้กฎของภาษาจากภาษาพูดที่ตนได้ยิน และประโยคที่เด็กพูดจะเป็นประโยคที่เด็กสร้างขึ้นมาใหม่มากกว่าการเลียนแบบ
ภาษามีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และการเกิดของคนเรา
-การเลียนเเบบการเรียนรู้ภาษาของเด็กจากการฟังเเละอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ เด็กจะพยายามเข้าใจในสิ่งที่ตนได้ยินเเละพยายามออก
ถึงความตั้งใจ
ภาษามีอิทธิพลต่อการรับรู้เเละการคิดของคนเรา
-ความคิดจะต้องใช้ภาษาในการกำหนดความคิดเเละการกระทำของคน
-ภาษามีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา
-ภาษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญของความคิด
-การเรียนภาษา คือ การสร้างมโนทัศน์
-ภาษาจะต้องมีการเเสดงออกทางด้านสื่อสาร เช่น การย้ำ การปฎิเสธ
-ภาษาจะมีความเเตกต่างกันหลายๆลักษณะ เรียกว่าภาษาถิ่น

วันนี้บรรยากาศการเรียนสนุกสนานดี มีความสุขกับการเรียน