Learning Materials for Early Childhood สื่อเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม 2554 วันนี้เป็นวันที่เรียนชดเชย อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่เเล้ว
7 ขั้นตอนพัฒนาการทางภาษาของเด็ก
1.ระยะเปะปะ อายุตั้งเเต่เเรกเกิด-6 เดือน พบว่าเด็กทารกมีการเปล่งเสียงอย่าไม่มีความหมายการเปล่งเสียงของเด็กเป็นการบ่งบอกให้ผู้ใหญ่รู้ถึงความต้องการของเด็ก
2.ระยะเเยกเเยะ อายุ 6เดือน-1ปี ในระยะนี้เริ่มเเยกเเยะเสียงที่เขาได้ยินในสิ่งเเวดล้อม เด็กจะเปล่งเสียงเหล่านี้ซ้ำๆอีก ในบางครั้งเด็กจะทำเสียงตามเสียงที่พูดคุยกัน
3.ระยะเลียนเเบบ อายุ1-2 ปี เสียงที่อยู่ในสิ่งเเวดล้อม โดยเฉพาะเสียงของคนที่ใกล้ชิดเป็นเสียงที่เด็กวัยนี้สนใจเเละเริ่มเลียนเเบบ
4.ระยะขยาย อายุ2-4 ปี เด็กจะเริ่มหัดพูดโดยการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำๆระยะเเรกจะเป็นการพูดโดยการเรียกชื่อคำนามชื่อของคนรอบข้าง
อายุ 2ปี เริ่มพูดเป็นคำได้ร้อยละ20
อายุ 3ปีเด็กจะเริ่มพูดเป็นประโยคได้
อายุ 4ปี เริ่มใช้คำศัพท์ต่างๆได้กว้างขว้างขึ้น
5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5ปี การรับรู้เเละการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก ซึ่งทำให้เด็กได้สังเกตการใช้ภาษาของบุคคลที่อยู่รอบข้างเเละทดลองใช้ประสบการณ์ที่เด็กได้รับ เช่น จากการฟังนิทาน ดูรายการวิทยุ โทรทัศน์
6.ระยะตอบสนอง อายุ5-6 ปี การพัฒนาภาษาของเด็กวัยนี้จะเริ่มสูงขึ้น เพราะเด็กจะเข้าเรียน
7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ6 ปีขึ้นไป เด็กจะมีการพัฒนาความสามารถภาษาได้สูงขึ้น สามารถจดจำสัญลักษณ์ทางภาษาได้มากขึ้น สำหรับด้านการพูด สามารถใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวนหรือคำที่มีความหมายลึกซึ้ง

บบรยากาศในการเรียน รู้สึกเพื่อนๆมาน้อย ทำให้ไม่ค่อยมีความสุขเท่าไรค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น